วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บทความ 5 บทความที่เกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย


บทความที่ 1 สื่อและของเล่น
              สื่อและของเล่น จัดเป็นปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่ง สภาพแวดล้อมหนึ่ง ที่มีผลต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก สื่อและของเล่นแต่ละประเภท มีส่วนในการพัฒนาเด็กแตกต่างกันไป การเลือกใช้และผลิต จึงเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง รวมทั้งครู จะมีบทบาทในการพิจารณาให้เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยของเด็ก และตรงตามวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะการนำสื่อและของเล่นมาใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น การผลิตสื่อและของเล่น สำหรับเด็กปฐมวัย จึงควรคำนึงถึงหลักการผลิต การเลือกใช้ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อให้สามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน

                หลักการเลือกสื่อและของเล่น
          แนวทางในการเลือกสื่อและของเล่นโดยทั่วไป ควรมีหลักเกณฑ์การเลือกเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเด็กหรือผู้เรียนดังนี้
                1. การเลือกสื่อควรพิจารณาให้มีความสัมพันธ์กับเรื่องที่ต้องการให้เด็กๆได้เรียนรู้ เพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ และสอดคล้องกับเนื้อหาอย่างครบถ้วน
                2. การนำสื่อไปใช้ในกิจกรรมหรือประสบการณ์ให้เด็ก ต้องคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นก่อนนำสื่อไปใช้ให้เกิดประสิทธิผล ควรมีการทดลองใช้และติดตามผลการใช้สื่อนั้นๆ ก่อน
                3. สื่อควรสร้างเสริมความคิดและให้แนวทางในการแก้ปัญหาได้หลายๆ ด้าน
                4. กรณีผลิตสื่อขึ้นใช้เอง ควรพิจารณาเทคนิคการผลิตสื่อนั้นๆ ว่า ดี หรือมีความเหมาะสมในการใช้งานมากน้อยแค่ไหน เช่น สี ขนาด สัดส่วน ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง
                5. สื่อต้องเหมาะสมกับวัย เพศ ระดับความรู้ ประสบการณ์เดิมของผู้รับ
                6. การสร้างสื่อรวมทั้งการใช้สื่อ ควรยึดหลักการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ อันได้แก่ ความต้องการทางกาย ความต้องการความปลอดภัย ความต้องการการยอมรับของกลุ่ม ความต้องการการยกย่องนับถือ ความต้องการความสำเร็จในชีวิต
                7. ควรเลือกใช้สื่อชนิดที่เข้าถึงและเป็นที่นิยมของกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงภาษาที่สามารถสื่อสารให้เข้าใจได้ง่าย น่าสนใจ และใช้สื่ออย่างคุ้มค่า
                8. สื่อนั้นๆ ผู้รับควรรับรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าให้มากที่สุด
                9. สื่อที่ใช้ควรเป็นสถานการณ์ในปัจจุบัน ทันต่อเหตุการณ์และความก้าว่หน้า รวดเร็วตรงตามเป้าหมาย

                10. ควรนำศิลปวัฒนธรรม ประเพณี กิจกรรม บุคลากร องค์กร หรือทรัพยากรต่างๆ ในท้องถิ่น มาใช้เป็นสื่อให้มากที่สุด


บทความที่ 2 สื่อและเครื่องเล่นยุคใหม่ของเด็กปฐมวัย

                    สื่อและเครื่องเล่นยุคใหม่ของเด็กปฐมวัย (Media and playing materials for the preschooler) เป็นผลพวงของความเจริญก้าว หน้า และศักยภาพในการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เกิดเป็นผลผลิตทางการเรียนรู้ให้แก่มนุษย์ชาติ เด็กปฐม วัยคือคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้รอดผลจากผลกระทบทั้งหลายเหล่านั้น ถึงเวลาแล้วที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จะต้องหันมาให้ความสนใจ และคิดใคร่ครวญถึงบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ในการร่วมเรียนรู้ พัฒนา และสนับสนุน ส่งเสริมการใช้สื่อและเครื่องเล่นยุคใหม่ เพื่อพัฒนาเด็กทั้งรายบุคคลและในระบบกลุ่มสื่อและเครื่องเล่นโดยทั่วไปแล้ว มีคุณค่าในการเสริมสร้างพัฒนาทักษะพื้นฐานแก่เด็กในหลากหลายด้าน ทั้งร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญา รวมถึงความเข้าใจในการทำหน้า ที่ของมนุษย์แต่ละช่วงวัย เสริมจิตนาการและทักษะการสื่อสารระหว่างเพื่อนมนุษย์รอบๆตัวสื่อและเครื่องเล่นยุคใหม่ในปัจจุบันนี้ มักปรากฏให้เห็นในรูปแบบดิจิตอลอนาล็อก โปรแกรม แอพพลิเคชั่น ที่ใช้ประกอบฮาร์ดแวร์ เช่น เครื่องโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ตอีบุ๊คส์ หรือโปรแกรมทีวีออนไลน์ ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อ อำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้งาน สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆแก่เด็ก อย่างไรก็ตาม กิจกรรมการเรียนรู้แบบดั้งเดิมเช่น การวาดภาพระบายสี การตัดแปะกระดาษต่างๆ ก็ยังมีความสำคัญ และเป็นกิจกรรมการพัฒนาหลักๆที่ขาดไม่ได้ เพราะเป็นกิจกรรมที่เด็กใช้อวัยวะร่างกาย เช่น ลำแขน ฝ่ามือ และอวัยวะอื่นๆ ทำงานร่วมกันในการสร้างชิ้นงาน ตามความคิด ซึ่งสื่อยุคใหม่จะสามารถเข้ามาเติมเต็มให้เกิดผลผลิตที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้ เช่นการสร้างรูปด้วย กล้องดิจิตอล วีดีโอ โทรศัพท์มือถือ เทปบันทึกเสียง ที่สร้างความบันเทิง ร่วมกับเสนอตัวช่วยในการสร้างชิ้นงานจากจิตนาการสร้างสรรค์ของแต่ละคน


บทความที่ 3 กิจกกรมพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
                  ภาษาเป็นการใช้คำศัพท์และไวยากรณ์เพื่อการสื่อความหมายในรูปแบบการพูด การเขียนหรือภาษาสัญลักษณ์ การใช้ภาษาของเด็กปฐมวัยเป็นการสื่อด้วยภาษาสัญลักษณ์มากกว่าการพูดหรือเขียน เด็กมีภาษาและวิธีการของเด็ก รูปแบที่เด็กแสดงออกมาที่สุดคือ ศิลปะ  การเคลื่อนไหวร่างกาย  ดนตรี  การพูด และตามด้วยกรเขียน  การเรียนรู้ภาษาของเด็กเป็นแรงขับดัน(Drive) ภายในตนประสานกับปฏิสัมพันธ์ (Interaction)กับบุคคลภายนอกและสิ่งแวดล้อมที่ต่อเนื่องกัน ดังนั้นในการสอนภาษาเด็กต้องเริ่มจากสิ่งที่เด็กสามารถสื่อได้มากที่สุดก่อน เด็กจึงจะสามารถพัฒนาทักษะภาษาได้ตามลำดับ
    สิ่งที่สำคัญที่ต้องนำมาใช้เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาภาษาให้กับเด็กคือพัฒนาการของเด็ก ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็กดังนี้
    * พัฒนาการทางด้านร่างกาย ได้แก่ ความสามารถในการพูด  การฟัง  ซึ่งหมายถึงความสามารถของการได้ยิน การบอกซ้ายขวา การให้เด็กแสดงออกของท่าทางตามคำศัพท์ เป็นต้น
    * พัฒนาการทางสังคม การให้เด็กพูด เด็กเล่าหรือตอบคำถาม ในการสร้างความกล้าของเด็กในการมีปฏิสัมพันธ์ แต่ถ้าเด็กพูดน้อยจะมีปัญหา
    * พัฒนาทางอารมณ์ มีผลต่อเด็กทั้งทางด้านบวกและด้านลบ โดยเฉพาะเด็กขี้อาย ขาดความมั่นใจ เด็กควรได้แสดงความสามารถทางภาษาที่เด็กอิสระทีสุด คือ การวาดภาพ ดนตรี
    * พัฒนาทางปัญญา สมองเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาทางภาษาและปัญญา การได้พูดได้แสดงออกเป็นการฝึกการรับรู้และพัฒนาทางภาษา กิจกรรมทางภาษาที่จัดให้กับเด็กต้องเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นให้เด็กเกิดมโนทัศน์ของคำ ฝึกการใช้เสียง การพูด การแต่งประโยค การตอบคำถามและการเล่าเรื่อง
     กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาของเด็กจะต้องมีหลากหลายและกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้และพัฒนาภาษาได้โดยตรง เช่น
     - กิจกรรมรักการอ่าน สร้างเสริมนิสัยรักการอ่านหนังสือและการใช้หนังสือ
     - กิจกรรมเล่าเรื่อง
     - กิจกรรมวาดภาพเป็นเรื่อง
     - กิจกรรมนิทานบทบาทสมมุติ
     - กิจกรรมการฟัง เช่น ปฏิบัติตามคำสั่ง ซ้าย-ขวา
     - กิจกรรมสนทนา
     - กิจกรรมการเขียน
     - กิจกรรมบอกชื่อ
     - กิจกรรมเรียงตัวพยํญชนะ
     - กิจกรรมหนังสือเล่มน้อยของฉัน  


บทความที่ 3 จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ออกมาเป็นการแสดง
             บทบาทสมมติหรือผลงานทางศิลปะ เช่น การเล่นเป็นพ่อแม่ การเล่นขายของ การเล่นสร้างงานศิลปะ เป็นต้น และเด็ก4-6 ปี ควรจัดให้เป็นการเล่นที่เด็กสามารถสะท้อนความคิดความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กเรียนรู้ เช่น การวาดภาพและเล่าเรื่องราว การแสดงบทบาทสมมติ การเล่นที่ใช้ทักษะการสังเกตเปรียบเทียบ
              รศ.ดร.จิตตินันท์ แนะนำหลักการเลือกของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างง่ายๆ4ข้อคือ 1. ต้องดูที่ความปลอดภัยในการเล่นของเล่นอาจทำด้วยไม้ ผ้า พลาสติก หรือโลหะที่ไม่มีอันตรายเกี่ยวกับ
ผิวสัมผัสที่แหลมคมหรือมีชิ้นส่วนที่หลุดหรือแตกหักง่าย ตลอดจนทำด้วยวัสดุที่ไม่มีพิษมีภัยต่อเด็ก 2.ประโยชน์ในการเล่น ของเล่นที่ดีควรช่วยเร้าความสนใจของเด็กให้อยากรู้อยากเห็น มีสีสันสวยงามสะดุดตาเด็ก มีการออกแบบที่ส่งเสริมให้เด็กใช้ความคิดและจินตนาการ ช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหว


บทความที่ 4 ประโยชน์ของนิทาน เพลง คำคล้องจอง
                ในช่วงสิบปีที่ผ่านมานี้เชื่อว่าหลายคงเคยได้ยินเรื่องสมองมาบ้าง คนส่วนใหญ่ชอบเปรียบเทียบว่า สมองของเด็กเมื่อครบกำหนดคลอดเปรียบเสมือนฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ แต่จะเป็นฮาร์ดแวร์ที่มีคุณภาพต่อเมื่อเด็กได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งแวดล้อมเปรียบเสมือนซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมนั่นเอง สมองของเด็กจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม ได้รับการเลี้ยงดูที่ดี ซึ่งจะทำให้สมองมีการสร้างเส้นใยประสาทและจุดเชื่อมต่อขึ้นอีกจำนวนมากมาย ยิ่งสมองมีการสร้างเส้นใยประสาทและจุดเชื่อมต่อมากขึ้นเท่าไหร่ เด็กก็จะฉลาดขึ้นมีความสามารถมากขึ้นเท่านั้น
               สมองเริ่มพัฒนาตั้งแต่อยู่ในครรภ์และพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทุกเดือนของระยะตั้งครรภ์ เมื่ออายุครรภ์เริ่มเข้าสู่เดือนที่ห้าโครงสร้างแต่ละส่วนของสมองเริ่มสมบูรณ์ ผิวของทารกไวต่อการสัมผัส ทารกเริ่มควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อได้ ในเดือนที่หกและเจ็ดสมองมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆจำนวนเซลสมอง ใยสมองและจุดเชื่อมต่อเพิ่มมากขึ้น แต่ผิวสมองยังไม่มีรอยหยักยังคงราบเรียบ เข้าสู่ระยะสุดท้ายของการตั้งครรภ์สมองเริ่มมีรอยหยักมากขึ้นเพื่อรับข้อมูล เซลล์สมองและวงจรประสาททำงานประสานกันอย่างสมบูรณ์
              ในปัจจุบันมีข้อมูลความรู้เพิ่มเติมในเรื่องของสมองกับการพัฒนาเด็ก สมองแต่ละส่วนจะทำหน้าที่ต่างกัน อาทิ สมองส่วนหลังจะเป็นส่วนที่ควบคุมการมองเห็น สมองส่วนกลางควบคุมเรื่องการฟัง การรับรู้กลิ่นและการสัมผัส สมองส่วนหน้าควบคุมการเคลื่อนไหว และการคิด กล่าวก็คือสมองควบคุมประสาทสัมผัสทั้งห้าหรือประสาทรับรู้ขั้นพื้นฐานนั่นเอง เก้าเดือนของการตั้งครรภ์ประสาทสัมผัสด้านต่างๆก็เริ่มพัฒนา และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สมองส่วนใดพัฒนาเมื่อไหร่เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องรู้ เนื่องจากการตอบสนองการกระตุ้นสมองในช่วงที่กำลังพัฒนาจะยิ่งทำให้ใยประสาทส่วนที่ได้ใช้หนาตัวขึ้นสมองยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่หากไม่ได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมสมองส่วนที่ไม่ได้ใช้ก็จะถูกตัดทอนลง


บทความที่ 5 การประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ
                 ของเล่นมักมีความสำคัญอย่างยิ่งกับเด็ก เพราะเป็นเสมือนเครื่องมือที่นำเด็กไปสู่การพัฒนาตนเองกับสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มจากการรับรู้โลกภายนอกผ่านการเสนอความรู้สึกนึกคิดแสดงออกผ่านสื่อต่าง ๆ ของเล่นเป็นสื่อที่เปิดโอกาสให้เด็กสำรวจ ทดลอง ค้นคว้า กับวัสดุทุกชนิดอย่างอิสระ ผ่อนคลาย ไม่คำนึงถึงความถูกผิด อีกทั้งมีความสอดคล้องกับลักษณะนิสัยของเด็ก ที่เป็นผู้ไม่อยู่นิ่ง ชอบซักถามสืบค้น ลงมือกระทำสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว เด็กจึงเป็นผู้เรียนที่มีความกระตือรือร้น เมื่อเด็กประสบความสำเร็จในงานที่ลงมือกระทำด้วยตนเอง จึงช่วยให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง และเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในความสามารถของตนเอง ส่งผลให้เด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อผู้อื่น ซึ่งกระบวนการประดิษฐ์ของเล่นอย่างง่าย ๆ จากวัสดุรอบตัวเด็กหรือวัสดุจากธรรมชาติจะส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพ ทำให้กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก เป็นพื้นฐานให้เด็กรักการทำงานเพราะการลงมือปฏิบัติให้เด็กเกิดความเคยชิน ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องทำให้เด็กรักการทำงาน เกิดความภาคเพียร ผลของความสำเร็จในการทำงานทำให้เกิดความภูมิใจที่ได้รับความสำเร็จอยู่เสมอ ทำให้เกิดความมั่นใจในการทำงาน มีความรู้สึกที่ดีต่อผู้อื่น และสิ่งแวดล้อมรอบข้าง เป็นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยเฉพาะเราสามารถนำวัสดุจากท้องถิ่น มาประดิษฐ์เป็นของเล่นอย่างง่ายๆ ให้เกิดประโยชน์ได้

วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนประจำวันที่ 4 ธันวาคม 2557

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 15


จัดนิทรรศการแสดงสื่อต่างๆที่เรียนมาทั้งหมดในภาคเรียนที่ 1 


อาจารย์พูดรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดแสดงสื่อ











เดินชมการจัดนิทรรศการสื่อต่างๆ



















ปิดคลอสการเรียน













บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 25 พศจิกายน 2557

 บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 14



อาจารย์สอนทำโมบายจากกระดาษสี
1.เลือกกระดาษสีที่เราจะทำ
2.พับให้เป็นสี่เหลี่ยม ตามขนาดที่ต้องการ 6 ใบ
3.พับเป็นสามเหลี่ยมสองทบและตัดตามแนวยาว ทั้ง 6 ใบ
4.คลี่ออกและนำมาติดกัน ทั้ง 6 ใบ
5.ประกอบเข้ากัน
6.ทำที่ห้อยด้านท้ายและที่แขวน
  

                      
ภาพประกอบการเรียน

                              อาจารย์สอนทำดอกไม้จากกระดาษ


    




ขั้นตอนการทำโมบายจากกระดาษสวยๆ













 ผลงานที่ได้







บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 18 พศจิกายน 2557

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 13


1.ดูตัวอย่างสื่อเกมการศึกษา
2.แบ่งกลุ่มทำสื่อการศึกษาเป็น คู่ เช่น 2 คน 4 คน 6 คน 8คน เป็นต้น

                                        รูปประกอบการเรียน


   อาจารย์สอนวิธีการทำสื่อ เกมส์การศึกษาที่หลากหลายวิธี






ภาพประกอบการทำสื่อเกมส์การศึกษา จิ๊กซอรูปผลไม้






ผลงานที่ได้




บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 11 พศจิกายน 2557

   บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 12


1.นำเสนอสื่อของแต่ละกลุ่ม ประโยชน์ของสื่อ 
2.สอนวิธีการทำชาร์ตเพลงที่หลากหลาย
3.ทำสื่อจากวัสดุเหลือใช้
4.นำเสนอสื่อหน้าชั้นเรียนพร้อมบอกอุปกรณ์การทำ และใช้ในการเรียนรู้ได้อย่างไร

                           ภาพประกอบการเรียน


อาจารย์สอนวิธีการทำชาร์ตเพลง







 อาจารย์ให้ทำสื่อจากเศษวัสดุเหลือใช้





นำเสนอผลงาน



วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 4 พศจิกายน 2557

บันทึกการเรียน
                                 ครั้งที่ 11
1.เรียนการทำสื่อ
2.ดูสื่อที่ใช้ในห้องเรียน เช่น ตารางเรียนประจำวัน ปฎิทิน วันเกิด สมาชิกในห้อง สภาพอากาศ เป็นต้น
3.สื่อที่ทำจากผัก เช่น หัวหอม เป็นต้น
4.เรียนการทำดอกไม้จัดบอร์ด ต้องไม้ที่ให้เป็นของขวัญ งานต่างๆ เป็นต้น
5.ทำสื่อในห้องเรียน  คือ ทำดอกไม้คนละ 1 ชิ้น
   


                             
                      ภาพประกอบการเรียน
















บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 28 กันยายน 2557

    บันทึกการเรียน
   ครั้งที่ 10



1.เรียนการทำดอกไม้จากกระดาษทิชชู
         -โดยเริ่มจากกระดาษทิชชู 1แผ่น  
         -โดยเริ่มจากกระดาษทิชชู 2 แผ่น 
         -โดยเริ่มจากกระดาษทิชชู 3 แผ่น 
         -โดยเริ่มจากกระดาษทิชชู 4 แผ่น 
         -โดยเริ่มจากกระดาษทิชชู 5แผ่น 

2.เรียนการทำดอกไม้จากกระดาษหลายรูปแบบ หลายลักษณะ 

3.เรียนการทำใบไม้จากกระดาษหลายลักษณะ และหลายแบบหลายแนว

4.ลงมือปฎิบัติในห้องเรียน

5.สั่งงานกลุ่มคืองานจัดบอร์ดดอกไม้  และงานเดี่ยวคือ งานดอกไม้ทีทำด้วยกระดาษ พร้อมส่งสัปดาห์ที่เรียนถัดไป
   


                               ภาพประกอบการเรียน


                ดูขั้นตอนการทำดอกไม้จากกระดาษทิชชู